ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์

พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระอนุชาของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระมหาอุปราช) หรือที่ออกพระนามกันว่า "วังหน้า" มีพระเกียรติยศเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 2 เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เมื่อมีพระชนมพรรษาได้ 43 พรรษา มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศ รังสรรค์ มหรรต วรรคโชไชย มโหฬารคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจักรพรรดิราช บวรนาถบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นที่รู้จักกันในพระนามว่า ทูลกระหม่อมฟ้าน้อย เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 50 หรือ พระราชกุมารพระองค์ที่ 27 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 3 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระองค์พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2351 ณ พระราชวังเดิม คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา ซึ่งในครั้งนั้นเรียกว่า พระบวรราชวังใหม่ อันเนื่องมาจากในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยมีคุณหญิงนก (ไม่ทราบสกุล) เป็นพระพี่เลี้ยง พระองค์มีพระเชษฐาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี

ภายหลังพระองค์ประสูติได้ประมาณ 1 ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคตเป็นผลให้สมเด็จพระราชบิดาของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้เสด็จตามสมเด็จพระราชบิดามาประทับในพระบรมมหาราชวังพร้อมกับพระราชมารดาและพระเชษฐา เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 12 พรรษา มีการพระราชพิธีโสกันต์อย่างธรรมเนียมสำหรับเจ้าฟ้า หลังจากนั้น เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 13 พรรษา ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อศึกษาศีลธรรมและพระศาสนา เมื่อพระองค์ลาผนวชทรงได้ศึกษาวิชาตามแบบแผนราชสกุลที่จัดให้เจ้านายเรียน โดยพระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม ร่วมพระอาจารย์เดียวกับสมเด็จพระเชษฐาของพระองค์

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองคใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงสด็จกลับไปประทับ ณ พระราชวังเดิม พร้อมกับพระราชมารดา ส่วนสมเด็จพระเชษฐาของพระองค์นั้นทรงสมณเพศประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุและวัดสมอราย เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับ ณ วัดระฆังโฆษิตาราม หลังจากลาผนวชพระองค์จึงเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์ทรงเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงบังคับบัญชากรมทหารปืนใหญ่ กรมทหารแม่นปืนหน้าปืนหลัง และญวนอาสารบแขก อาสาจาม ต่อมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จสวรรคต เป็นเหตุให้ข้าไทในเจ้านายต่าง ๆ คาดว่าเจ้านายของตนจะได้รับการสถาปนาที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา (ต่อมา คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)) จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ถ้าไม่ทรงตั้งกรมพระราชวังฯ แล้ว ขอให้ยกเจ้าต่างกรมผู้ใหญ่เลื่อนขึ้นเป็นกรมหลวง กรมขุน เพื่อให้ข้าไทเห็นว่าเจ้านายของตัวได้เลื่อนยศเพียงนั้น จะได้หายตื่น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเห็นด้วยและโปรดให้เลื่อนกรมและตั้งกรมเจ้านายรวม 8 พระองค์ด้วยกัน โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี ปรากฏว่ามีความชอบในราชการ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมที่กรมขุน มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ 24 พรรษา

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกาลต่อมา) จึงมอบหมายให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่เจ้าฟ้ามงกุฎตรัสว่า ถ้าจะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์ ดังนั้น จึงได้มีการเชิญสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นทรงราชสมบัติที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกและทรงรับพระบวรราชโองการให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

"พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศร์ มหิศเรศรังสรรค์ มหันตรวรเดชโชไชย มโหฬารคุณอดุลย สรรพเทเวศรานุรักษ บวรจุลจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อิศวรราชรามวรังกูร บรมมงกุฎนเรนทร สูรยโสทรานุชาธิบดินทร เสนางคนิกรินทร บวราธิเบศร พลพยุหเนตรนเรศวร มหิทธิวรนายก สยามาทิโลกดิลกมหาบุรุษรัตนไพบูลยพิพัฒนสรรพศิลปาคม สุนทรโรดมกิจโกศล สัตปดลเสวตรฉัตร ศิริรัตนบวรมหาราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศพิชิตไชยอุดมมไหสวริยมหาสวามินทร สเมกธรณินทรานุราช บวรนารถชาติอาชาวศรัย ศรีรัตนไตรสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิสรรพรัษฎาธิเบนทร ปวเรนทรธรรมมิกราชบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"

นับย้อนไปในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี สืบมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์นั้น พระเจ้าแผ่นดินมักจะทรงสถาปนาให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ที่เกิดจากพระอัครมเหสี เป็นพระมหาอุปราช ซึ่งจะทรงดำรงตำแหน่งเป็น พระเจ้าแผ่นดินต่อจากพระองค์ แต่บางรัชกาลก็ทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอที่มีความชอบต่อแผ่นดินขึ้นเป็น พระมหาอุปราช (เรียกในราชการว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า) และตามหลักฐานเท่าที่มีปรากฏใน พระราชพงศาวดารของไทยเรา การที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งพระอนุชาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่สอง นั้น มีเฉพาะ สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถเท่านั้น ก่อนที่จะมาถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอไว้ในตำแหน่งพระมหาอุปราช และให้มีพระราชอิสริยยศเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดินนั้น (The Second King) มีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญเป็นเพราะพระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้านของพระมหาอุปราชพระองค์นี้ที่ได้เป็นกำลังสำคัญของชาติ

ตั้งแต่เมื่อครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ โดยเฉพาะพวกฝรั่งชาว ตะวันตก และพร้อมกับเป็น พระกำลังที่สำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ทรงเข้าร่วมการเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาเบาริง ซึ่งเป็นสนธิสัญญา ที่มีชื่อเสียงโด่งดังกับราชทูตประเทศอังกฤษ พระเกียรติยศชื่อเสียง ในด้านความรอบรู้ของใต้ฝ่าละอองธุลี พระบาทในภาษา หลายภาษา และในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นสูงหลายวิชา ซึ่งทรงรอบรู้ผิดไปจากคนในหมู่ชาติตะวันออกมาก ซึ่งก็ได้แพร่สะพัดถึงสหรัฐอเมริกา ด้วยทรงทราบชื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทุกคนด้วย

หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว 10 ปี พระองค์ก็เริ่มทรงพระประชวรบ่อยครั้ง หาสมุฏฐานของพระโรคไม่ได้ เสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 2 แรม 6 ค่ำ เวลาเช้าย่ำรุ่ง ตรงกับ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2408 พระชนมพรรษา 58 พรรษา ทรงอยู่ในบวรราชสมบัติทั้งสิ้น 15 ปี

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชอัธยาศัยต่างจากพระเชษฐามาก เพราะฝ่ายแรกชอบสนุกเฮฮา ไม่มีพิธีรีตองอะไร ส่วนฝ่ายหลังค่อนข้างเงียบขรึม ฉะนั้นจึงมักโปรดในสิ่งที่ไม่ค่อยจะตรงกันนัก แต่ถ้าเป็นความสนิทสนมส่วนพระองค์แล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงทำอะไรก็มักนึกถึงพระราชอนุชาอยู่เสมอ เช่น คราวหนึ่งเสด็จขึ้นไปปิดทองพระพุทธรูปใหญ่วัดพนัญเชิง ก็ทรงปิดเฉพาะพระพักตร์ เว้นพระศอไว้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงปิดต่อ นอกจากนี้ทั้ง 2 พระองค์ ก็ทรงล้อเลียนกันอย่างไม่ถือพระองค์ และส่วนมากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จะเป็นฝ่ายเย้าแหย่มากกว่า

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงพระปรีชาสามารถมาก ทรงรอบรู้งานใน ด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น งานด้านกองทัพบก กองทัพเรือ ด้านต่างประเทศ วิชาช่างจักรกล และวิชาการปืนใหญ่ ทรงรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีจนสามารถที่จะทรงเขียนโต้ตอบจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ กับ เซอร์ จอห์น เบาริง ราชทูตอังกฤษ ที่เดินทางมาเจริญพระราชไมตรีกับประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ซึ่งข้อความในสนธิสัญญานั้น ถ้าเอ่ยถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จะมีคำกำกับว่า The First King ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ จะมีคำกำกับว่า The Second King สำหรับในภาษาไทยนั้น ตามสนธิสัญญา ทางไมตรีกับประเทศอังกฤษ ในบทภาค ภาษาไทยจะแปลคำว่า The First King ว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์เอก ส่วนคำว่า The Second King นั้นจะแปลว่า พระเจ้าประเทศสยามพระองค์ที่ 2 พระบาทสมเด็จประปิ่นเกล้า ฯ มีพระนามปรากฏอยู่ในประกาศในอารัมภบทให้ดำเนินการเจรจาทำสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วย ในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 คู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พระองค์มีสายพระเนตรที่กว้างไกล ในด้านการ ต่างประเทศ ทรงรอบรู้ข่าวสารในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี ทรงทราบพระราชหฤทัยดีว่า ถ้าหากทรง ดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวแล้วไซร้ ไทยเราจะเสียประโยชน์ ส่วนบรรดาฝรั่งที่รู้จักมักคุ้นกับวังหน้ามักจะยกย่องชมเชยว่า ทรงเป็นสุภาพบุรุษเพราะพระองค์มีพระนิสัยสุภาพ โดยเฉพาะกับพระราชชนนี กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ด้วยแล้ว ทรงแสดงความเคารพเกรงกลัวเป็นอันมาก

นอกจากนี้โปรดการท่องเที่ยวไปตามหัวบ้านหัวเมือง ทั้งเหนือและใต้ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะมีพระอาการประชวรกระเสาะกระแสะอยู่เสมอ จึงต้องเสด็จไปเที่ยวรักษาพระองค์ตามหัวเมือง อยู่เนือง ๆ กล่าวกันว่า มักเสด็จไปประทับตามถิ่น ที่มีบ้านลาว เสด็จไปประทับที่บ้านสัมปะทวน แขวงนครไชยศรีบ้าง ทางเมืองพนัสนิคมบ้าง แต่เสด็จไปประทับที่ตำหนัก บ้านสีทา จังหวัดสระบุรีเสียโดยมาก แต่แท้ที่จริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ได้เคยเสด็จไปเที่ยวประพาสตามหัวเมือง ต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิสเรศรังสรรค์แล้ว เพราะทรงประจักษ์แจ้งแก่พระปรีชาญาณว่า การเสด็จประพาสหัวเมืองเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมือง ด้วยสามารถทรงทราบทุกข์สุขของไพร่ฟ้าประชาชนได้เป็น อย่างดีซึ่งดีกว่ารายงานในกระดาษมากนัก

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงใฝ่พระราชหฤทัยในวิชาการด้านจักรกลมาก และเพราะเหตุที่พระองค์โปรดการทหาร จึงทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นพิเศษ เท่าที่ค้นพบพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ นั้น ก็มักจะ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร และเป็นเครื่องแบบทหารเรือด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่มีการบันทึกพระราชประวัติ ในส่วนที่ทรงสร้างหรือวางแผนงานเกี่ยวกับ กิจการทหารใด ๆ ไว้บ้างเลย แม้ในพระราชพงศาวดาร หรือในจดหมายเหตุต่าง ๆ ก็ ไม่มีการบันทึกผลงานพระราชประวัติใน ส่วนนี้ไว้เลย และแม้พระองค์เองก็ไม่โปรดการบันทึก ไม่มีพระราชหัตถเลขา หรือมีแต่ไม่มีใครเอาใจใส่ทอดทิ้ง หรือทำลายก็ ไม่อาจทราบได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีงานเด่น ที่มีหลักฐานทั้งของฝรั่ง และไทย กล่าวไว้ แม้จะน้อยนิดแต่ก็แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มที่ ล้ำหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน

ผลงานนั้นคือการทหารเรือ การทหารเรือ ของไทยเรานั้น เริ่มมีเค้าเปลี่ยนจากสมัยโบราณเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 3 และผู้ที่เป็นกำลังสำคัญ ในกิจการด้านทหารเรือในสมัยนั้น คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และ จมื่นไวยวรนาถ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)) ด้วยทั้ง 2 ท่านนี้มีความรู้ในวิชาการต่อเรือในสมัยนั้น เป็นอย่างดี จึงได้รับหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชาการทหารเรือในสมัยนั้น

ต่อมาได้แบ่งหน้าที่กันโดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงบังคับบัญชาทหารเรือ วังหน้า ส่วนทหารเรือบ้านสมเด็จอยู่ในปกครองบังคับบัญชาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในยามปกติทั้ง 2 ฝ่าย นี้ ไม่ขึ้นแก่กันแต่ขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงฝึกฝนทหารของพระองค์ โดยใช้ทั้งความรู้และความสามารถ และ ยังทรงมุ่งพระราชหฤทัยในเรื่องการค้าขายให้มีกำไร สู่แผ่นดินด้วยมิใช่สร้าง แต่เรือรบเพราะได้ทรงสร้างเรือเดินทะเล เพื่อการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงนำเอาวิทยาการ สมัยใหม่ของยุโรป มาใช้ฝึกทหารให้มีสมรรถภาพเป็นอย่างดี ทรงให้ร้อยเอก น็อกส์ (Thomas George Knox) เป็นครูฝึกทหารวังหน้า ทำให้ทหารไทยได้รับวิทยาการอันทันสมัยตามแบบ ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป

การฝึกหัดใช้คำบอกทหารเป็น ภาษาอังกฤษทั้งหมดเริ่มมีเรือรบกลไฟเป็นครั้งแรก ชื่อเรืออาสาวดีรส3 และเรือยงยศอโยชฌิยา4 (หรือยงยศอโยธยา) ซึ่งเมื่อครั้งเรือยงยศอโยชฌิยา ได้เดินทางไปราชการที่สิงคโปร์ ก็ได้รับคำชมเชยจากต่างประเทศเป็นอันมาก ว่าพระองค์มี พระปรีชาสามารถทรงต่อเรือได้ และการเดินทางในครั้งนั้นเท่ากับเป็นการไปอวดธงไทยในต่างประเทศ ธงไทยได้ถูกชัก ขึ้นคู่กับธงอังกฤษ ที่ฟอร์ทแคนนิ่งด้วย และแม้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ก็โปรด ฯ ให้เป็นทหารเรือเช่นกัน ประวัติของเรือที่พระองค์ทรงมีใช้ในสมัยนั้น ตามที่พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์ ได้รายงานเล่าไว้ในหนังสือ ประวัติทหารเรือไทย มีดังนี้

เกียรติประวัติของการทหารเรือไทยสมควรจะต้องยกถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์เป็น ผู้ที่ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการทหารเรือในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีเรือรบต่างประเทศเข้ามาเยี่ยม ประเทศไทยคราวใดพระองค์ก็มักหาโอกาสเสด็จไปเยี่ยมเยียนเรือรบเหล่านั้นเสมอ เพื่อจะได้ทรงทราบว่าเรือรบต่าง ประเทศเขาตกแต่งและจัดระเบียบเรือกันอย่างไร แล้วนำมาเป็นแบบอย่างให้กับเรือรบของไทยในเวลาต่อมา

จากพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำในเรื่องเรือสมัยใหม่ ซึ่งผู้คนในสมัยนั้นไม่มีใครเชื่อเลยว่าเหล็กจะลอยน้ำได้แต่พระองค์ได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้ปรากฏ ทรงต่อเรือรบ กลไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย มีพระปรีชาสามารถหลายด้าน ทรงแตกฉานเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษจนสามารถติดต่อ กับชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดีพระสหาย และพระอาจารย์ เป็นชาว อเมริกันเสียเป็นส่วนมากทรงหมกมุ่นกับกิจการทหารเรือมาตั้งแต่ต้น ด้วยเหตุนี้จึงถือได้ว่าพระองค์ทรงเป็น ผู้บัญชาการ ทหารเรือ พระองค์แรก และควรถวายพระนามว่า ผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า สมควรได้รับการถวายพระเกียรติยศขั้นสูงสุด จากชาวกองทัพเรือ ตั้งแต่นี้และตลอดไป

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดารวมทั้งสิ้น 58 พระองค์ โดยประสูติก่อนบวรราชาภิเษก 33 พระองค์ และประสูติหลังจากบวรราชาภิเษก 25 พระองค์ ซึ่งมีรายพระนามเรียงตามพระประสูติกาล

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ? พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ? พระยาชลยุทธโยธินทร์ ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ? พระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา) ? พระยาวิชิตชลธี (ทองดี สุวรรณพฤกษ์) ? สินธุ์ กมลนาวิน ? พระยาวิจารณจักรกิจ ? หลวงพลสินธวาณัติก์ (เปล่ง พลสินธ์ สมิตเมฆ) ? หลวงยุทธศาสตร์โกศล ? หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) ? สวัสดิ์ ภูติอนันต์ ? หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร ? จรูญ เฉลิมเตียรณ ? ถวิล รายนานนท์ ? กมล สีตกะลิน ? เฉิดชาย ถมยา ? สงัด ชลออยู่ ? อมร ศิริกายะ ? กวี สิงหะ ? สมุทร์ สหนาวิน ? สมบูรณ์ เชื้อพิบูลย์ ? ประพัฒน์ จันทวิรัช ? นิพนธ์ ศิริธร ? ธาดา ดิษฐบรรจง ? ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ? วิเชษฐ การุณยวนิช ? ประเจตน์ ศิริเดช ? วิจิตร ชำนาญการณ์ ? สุวัชชัย เกษมศุข ? ธีระ ห้าวเจริญ ? ประเสริฐ บุญทรง ? ทวีศักดิ์ โสมาภา ? ชุมพล ปัจจุสานนท์ ? สามภพ อัมระปาล ? สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ? กำธร พุ่มหิรัญ ? สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ? ณรงค์ พิพัฒนาศัย ? ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ? ณะ อารีนิจ

กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ • กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ • กรมพระยาบำราบปรปักษ์ • กรมหมื่นเสพสุนทร • กรมหมื่นสุนทรธิบดี • กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ • กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ • กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ • กรมพระยาเดชาดิศร • กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ • กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา • กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ • กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • กรมขุนสถิตย์สถาพร • กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา • กรมหลวงวรศักดาพิศาล • กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ • กรมขุนวรจักรธรานุภาพ • กรมหมื่นถาวรวรยศ

กรมพระยาเทพสุดาวดี • กรมพระยาเดชาดิศร • กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร • กรมพระยาบำราบปรปักษ์ • กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ • กรมพระยาวชิรญาณวโรรส • กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช • กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ • กรมพระยาดำรงราชานุภาพ • กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

กรมพระศรีสุดารักษ์ • กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • กรมพระรามอิศเรศ • กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ • กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ • กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ • กรมพระจักรพรรดิพงษ์ • กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ • กรมพระสมมตอมรพันธ์ • กรมพระเทพนารีรัตน์ • กรมพระจันทบุรีนฤนาถ • กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ • กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ • กรมพระนครสวรรค์วรพินิต • กรมพระสุทธาสินีนาฏ • กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ • กรมหลวงธิเบศรบดินทร์ • กรมหลวงนรินทรรณเรศร์ • กรมหลวงจักรเจษฎา • กรมหลวงอิศรสุนทร () • กรมหลวงเทพหริรักษ์ • กรมหลวงศรีสุนทรเทพ • กรมหลวงเสนานุรักษ์ • กรมหลวงพิทักษ์มนตรี • กรมหลวงเทพยวดี • กรมหลวงเทพพลภักดิ์ • กรมหลวงรักษ์รณเรศ • กรมหลวงเสนีบริรักษ์ • กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิสุขวัฒนวิไชย • กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ • กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ • กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • กรมหลวงนรินทรเทวี • กรมหลวงวรศักดาพิศาล • กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ • กรมหลวงพิชิตปรีชากร • กรมหลวงวรเสรฐสุดา • กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ • กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร • กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ • กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ • กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร • กรมหลวงปราจิณกิติบดี • กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช • กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ • กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ • กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ • กรมหลวงอดิศรอุดมเดช • กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ • กรมหลวงนครราชสีมา • กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ • กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา () • กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ • กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ • กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี • กรมหลวงสงขลานครินทร์ • กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร • กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ • กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

กรมขุนสุนทรภูเบศร์ • กรมขุนกษัตรานุชิต • กรมขุนอิศรานุรักษ์ • กรมขุนศรีสุนทร • กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ • กรมขุนกัลยาสุนทร • กรมขุนสถิตย์สถาพร • กรมขุนนรานุชิต • กรมขุนธิเบศวร์บวร • กรมขุนพินิตประชานาถ () • กรมขุนวรจักรธรานุภาพ • กรมขุนราชสีหวิกรม • กรมขุนรามินทรสุดา • กรมขุนอนัคฆนารี • กรมขุนเทพนารี • กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล • กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ • กรมขุนขัตติยกัลยา • กรมขุนเทพทวาราวดี () • กรมขุนอรรควรราชกัลยา • กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ • กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • กรมขุนสุพรรณภาควดี • กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย • กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ • กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี • กรมขุนสิริธัชสังกาศ • กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ • กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา • กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี

กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ • กรมหมื่นพิทักษ์เทวา • กรมหมื่นศักดิพลเสพ • กรมหมื่นนราเทเวศร์ • กรมหมื่นนเรศร์โยธี • กรมหมื่นเสนีเทพ • กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ () • กรมหมื่นอินทรพิพิธ • กรมหมื่นจิตรภักดี • กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ • กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ • กรมหมื่นสุนทรธิบดี • กรมหมื่นนรินทรเทพ • กรมหมื่นศรีสุเทพ • กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ • กรมหมื่นเสพสุนทร • กรมหมื่นอมรมนตรี • กรมหมื่นนเรนทร์บริรักษ์ • กรมหมื่นไกรสรวิชิต • กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ • กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ • กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ • กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ • กรมหมื่นถาวรวรยศ • กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา • กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ • กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ • กรมหมื่นภูมินทรภักดี • กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส • กรมหมื่นมนตรีรักษา • กรมหมื่นเทวานุรักษ์ • กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร • กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ • กรมหมื่นอุดมรัตนราษี กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย • กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ • กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช • กรมหมื่นอมเรศรัศมี • กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ • กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ • กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ • กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ • กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ • กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ • กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ • กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ • กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร • กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย • กรมหมื่นปราบปรปักษ์ • กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ • กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา • กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ • กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป • กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร • กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม • กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ • กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ • กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี • กรมหมื่นกวีสุพจน์ปรีชา • กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ • กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส • กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ • กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช • กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย • กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร • กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต • กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ • กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ • กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406